วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติของสมาคมฮากกาทั่วประเทศ

ประวัติของสมาคม ฮากกา
น้องชาวฮากกาของเราเดินทางมาประเทศไทยเมื่อใดนั้น ไม่มีประวัติบันทึกไว้ให้ศึกษา และจากข้อมูลที่มีการบันทึกทำให้รู้ว่าประเทศไทยมีชาวฮากกาเข้ามาอาศัย ตั้งแต่รัชสมัยสุโขทัยติดต่อ มาถึงรัชสมัยจักรี รวมเป็นเวลาหลายร้อยปี ส่วนการจัดตั้งองค์กรชาวฮากกาในประเทศไทยนั้นมี ประวัติยาวนานถึงกว่าร้อยปี สามารถแยกเป็น 5 ช่วงเวลาดังนี้

1. ช่วงจัดตั้ง " ชมรมจี๋เสียนก่วน " 
     ประมาณปี ค.ศ. 1870 “ชมรมจี๋เสียนก่วน” ได้ก่อตั้งขึ้นโดยชาวฮากกาที่อาศัยอยู่ใน ประเทศไทย ตั้งอยู่ที่วังบูรพา โดยมีคุณหลี่เจียเหยินและคุณอู่ฟูเป็นผู้ดำเนินการ วัตถุประสงต์เพื่อ ให้ความสำคัญต่อความมีสัจจธรรม การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รวมทั้งความสมานฉันท์ระหว่างกัน

2. ช่วงของ " หมิงซุ่น " และ " ฉวินอิง "

     ปลายรัชสมัยชิง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของตัวบุคคลและสภาพแวดล้อม ทำให้มี ความเห็นขัดแย้ง ในที่สุดแตกแยกออกเป็น “ชมรมหมิงซุ่น” และ “ชมรมฉวินอิง” ผู้ดำเนินการ ของ “ชมรมหมิงซุ่น” คือ คุณเฉินซุนชิน ส่วน “ชมรมฉวินอิง” ดำเนินการโดยคุณเหลียงกว่างและ คุณหลินอี้เซิง

3. การสถาปนา " สมาคมจีนแคะ "

     ปี ค.ศ. 1901 คุณอวี๋ชื่อเผิง สมาชิกเชื้อสายฮากกาของสมาคมสันนิบาตประเทศจีน ได้ เดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้พบเห็นชาวฮากกาต่างก่อตั้งองค์กรของตัวเองนั้นเป็นการบั่นทอน กำลัง รวมทั้งไม่เป็นผลดีต่อชาวฮากกา จึงได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยขอร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายยกเลิกชื่อของ ชมรม จากนั้นได้มีการรวบรวมคณะบุคคลก่อตั้ง “สมาคมจีนแคะ” ขึ้น จนถึงปี ค.ศ. 1909 จึงได้ จัดตั้งที่ทำการสมาคม โดยเรียนเชิญเจ้าพระยายมราช รัฐมนตรีมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดป้าย สมาคมจีนแคะที่ตั้งอยู่ที่ศาลเจ้าหลีตี้เบี้ยว และได้คุณหยางหลี่ชิงเป็นนายกสมัยที่ 1 คุณอู่จั่วหนาน เป็นรองนายก คุณสวี่เอี๋ยนฮุยเป็นเหรัญญิก ต่อเนื่องมาถึงนายกสมัยที่ 2 คุณโหวหลันถิง และนายก สมัยที่ 3 คุณสวี่จื่อถิง

4. จดทะเบียนสมาคมหัวเฉียวจีนแคะ

     ปี ค.ศ. 1912 ทางสมาคมได้แลกที่ดินบริเวณถนนพาดสายมาผืนหนึ่ง จึงได้มีการ ก่อสร้างอาคารใหม่เป็นที่ตั้งของสมาคมปัจจุบัน ต่อมาได้มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับสมาคมและจด ทะเบียนเป็น “สมาคมหัวเฉียวจีนแคะ” เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2470 (ปี ค.ศ. 1927) และได้เลือก คุณอู่จั่วหนานเป็นนายกคุณเอี้ยหวินฝั่งเป็นรองนายก คุณเสืองอิ้วหลินเป็นเหรัญญิก และคุณ หวงเซ่าเว่ยเป็นเลขานุการ
5. ความเป็นมาของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย

     ปี ค.ศ. 1936 ได้มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับของสำนักงานประจำต่างจังหวัดหรือ สาขาสมาคมขึ้นเป็นครั้งแรก และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งสาขาสมาคม ชื่อของสมาคมได้เปลี่ยน เป็น “สมาคมหัวเฉียวจีนแคะแห่งประเทศไทย” ปี ค.ศ. 1967 เพื่อสะดวกต่อการพัฒนากิจการสาขา จึงได้มีการจดทะเบียนและเปลี่ยนชื่อสาขาเป็นสมาคมฮากกาจังหวัดนั้น ๆ และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2515 (ปี ค.ศ. 1972) ที่ประชุมสมาชิกประจำปี ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อ “สมาคมหัวเฉียวจีนแคะแห่ง ประเทศไทย” เป็น “สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย” ใช้ชื่อย่อว่า “เค่อจ่ง” อีกทั้งจัดตั้งคณะ อนุกรรมการต่าง ๆ เพื่อพัฒนากิจกรรมของสมาคมรวม 8 คณะ คือ ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายกีฬา ฝ่าย ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสตรี ฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายพาณิชยการ ฝ่ายประสานงาน และฝ่ายยุวชน สมาคมมี สุสาน 4 แห่ง คือ สุสานสีลม สุสานตรอกจันทร์ สุสานจงจินต์ สุสานจันทร์ฟ้า ศาลเจ้า 6 แห่ง คือ ศาลเจ้าซำไนเก็ง ศาลเจ้าหลีตี้เบี้ยว ศาลเจ้าโรงเกือก ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ศาลเจ้ากวนอู และศาลเจ้ากวน อิมเนี้ย โรงเรียน 2 แห่ง คือ โรงเรียนจิ้นเตอะและโรงเรียนพณิชยการเอเซีย โรงพยาบาล 1 แห่ง คือ มูลนิธิโรงพยาบาลจงจินต์ นอกจากนี้ทางสมาคมยังได้จัดตั้งกองทุนการศึกษาแจกรางวัลทุนการ ศึกษาแก่บุตรของสมาชิก และกองทุนผู้สูงอายุมอบสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุปีละครั้ง และในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2544 (ปี ค.ศ. 2001) จากการประชุมฮากกามิตรสัมพันธ์ครั้งที่ 9 ณ จังหวัดนครสวรรค์ ก็ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อสมาคมคำว่า “เค่อสู่” เป็น “เค่อเจีย” ซึ่งหมายถึง “ฮากกา” ในชื่อภาษาไทย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น